เอกลักษณ์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งของการแสดงลิเกฮูลูก็คือ
การขับร้องพร้อมแสดงท่วงท่าประกอบ
ท่าร่ายรำจะบ่งบอกถึงธรรมชาติและการห่วงหาอาทรต่อกัน
เช่น การทำมือเป็นลูกคลื่น
ท่ากวักมือเพื่อชักชวนพี่น้องที่ไปอยู่ในมาเลเซียให้กลับมายังบ้านเกิด ท่าปลาแหวกว่าย ท่าชักอวน คือ จะประกอบกับการตบมือเป็นจังหวะให้เกิดความสนุกสนานเวลาทำการแสดงจะต้องเริ่มด้วยการโหมโรงดนตรีเพื่อปลุกเร้าหรือเรียกผู้ชม เมื่อพร้อมแล้วก็ทำการแสดง โดยว่าเพลงกลอนไปตามเนื้อหา หากใครมีข้อโต้แย้งก็ให้แสดงความคิดเห็น เป็นการปะทะคารมกันคล้ายปัจจุบันดิเกฮูลูแสดงกันทั่วไปในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ยะลา นราธิวาส สงขลา สตูล และปัตตานี โดยการแสดงออกผ่านท่าทางประกอบและการตบมือ เช่น การใช้มือแสดงท่าทาง โดยการโบกมือกวักมือ หมายถึงเรียกให้กลับบ้านให้มาดูแลทะเลบ้านเรา ท่าทางการตบมือเหมือนปลา เหมือนกับการแสดงให้เห็นถึงการเอาตัวรอดของปลาให้หลุดพ้นจากการตามล่า ทำลายจากระเบิด อวนลาก อวนรุก และท่าทางการตบมือชักเชือก ที่แสดงถึงความร่วมมือ ความสามัคคี โดยใช้เชือก ซึ่งเป็นเครื่องมือจับปลาของชาวประมงพื้นบ้าน เป็นสื่อให้เกิดพลังชุมชน เป็นต้น |




ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น